อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ซึ่งประกอบด้วย10ประเทศ ได้แก่ ไทย บรูไน ลาว พม่า กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์
ที่มาและความสำคัญ
อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ซึ่งประกอบด้วย10ประเทศ ได้แก่ ไทย บรูไน ลาว พม่า กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์
ประชาคมอาเซียน คือ
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน
ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้
อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า
ระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN
Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
กฎบัตรอาเชียน (ASEAN Charter) คืออะไร
กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล
เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม
หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของ
ประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความ
สัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และ เป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน
ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558
ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
โครงสร้างและกลไกการดำเนินงานขององค์กรของอาเซียน
กฎบัตรอาเซียน
ซึ่งเปรียบเสมือนกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม
2551 เป็นเอกสารหลักที่กำหนดโครงสร้างองค์กรของอาเซียน
ไว้ในหมวดที่ 4 ดังนื้
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก
ในด้านการเมืองและความมั่นคง
อาเซียนมีเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้
เพื่อสร้างสถานะที่จะอำนวยต่อการสร้างประชาคมอาเซียน ให้สำเร็จภายในปี 2558 ซึ่งจะทำให้ประชาคมอาเซียนในด้านการเมืองความมั่นคงมีความแข็งแกร่งและน่า
เชื่อถือ ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงของอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่
เสาหลัก 1 ความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง
ในด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนมีเป้าหมายสำคัญคือการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างสถานะที่จะอำนวยต่อการสร้างประชาคมอาเซียน ให้สำเร็จภายในปี 2558 ซึ่งจะทำให้ประชาคมอาเซียนในด้านการเมืองความมั่นคงมีความแข็งแกร่งและน่า เชื่อถือ ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงของอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่
เสาหลัก 2 ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ
อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม โดยผู้นำอาเซียนได้เห็นพ้องต้องกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community :
AC) ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก อันได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community – ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community-AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) และเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี
พ.ศ. 2558
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่จะนำไปสู่การ รวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียน นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2535 โดยได้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ขึ้น และนับแต่นั้นมากิจกรรมของอาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปสู่ทุกสาขาหลักทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการค้าสินค้าและบริการการลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน และการเงินการคลัง เป็นต้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่สำคัญ มีดังนี้
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่จะนำไปสู่การ รวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียน นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2535 โดยได้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ขึ้น และนับแต่นั้นมากิจกรรมของอาเซียนได้ขยายครอบคลุมไปสู่ทุกสาขาหลักทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการค้าสินค้าและบริการการลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน และการเงินการคลัง เป็นต้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่สำคัญ มีดังนี้
เสาหลัก 3 ความร่วมมือในด้านสังคมและวัฒนธรรม
ความร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ความร่วมมือเฉพาะด้าน” คือ ความร่วมมือด้านอื่นๆ ที่มิใช่ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดย มีวัตถุประสงค์หลัก
เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาค พัฒนาและเสริมสร้างสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น
รวมถึงลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์
ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิก
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี 2546 ที่บาหลี ผู้นำประเทศอาเซียน เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี 2546 ที่บาหลี ผู้นำประเทศอาเซียน เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของประชาคมอาเซียน
1. ประเทศสมาชิกอาเซียน
มีสภาพภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกัน จึงมีสินค้าเกษตรหรือแร่ธาตุที่คล้ายคลึงกัน
บางครั้งจึงมีการแย่งตลาดกันเอง และสินค้าส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ยังไม่ได้แปรรูป
ทำให้ราคาสินค้าตกต่ำ นโยบายเขตการค้าเสรีในภูมิภาคนี้จึงดำเนินไปอย่างช้ามากจะแก้ไขปัญหานี้ได้
จะต้องมีการแบ่งการผลิตตามความถนัดของแต่ละประเทศแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันจึง จะเกิดการรวมกลุ่มกันได้
แต่ถ้าต่างคนต่างผลิตโดยไม่มีการกำหนดมาตราฐานร่วมกันในการวางแผนการผลิตก็ ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในการรวมกลุ่ม
ประเทศฟิลิปปินส์
ที่ตั้ง :
เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น 7,107
เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้
ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก
- ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้
- ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
- อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร
การเมืองการปกครอง
1. การเมืองการปกครอง
1.1 ฟิลิปปินส์ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ในรูปแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 1 วาระ วุฒิสภามีสมาชิก 24 คน
มาจากการเลือกตั้งจากผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วประเทศ (nationwide – elected) มีวาระ 6 ปี
และรัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาจำนวนครึ่งหนึ่ง (12
คน) ทุก 3 ปี
1.2 ฟิลิปปินส์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 เขต (region) 80 จังหวัด (province) และ 120 เมือง (city) โดยแบ่งการปกครองย่อยออกเป็น
1,499 เทศบาล (municipality) และ 41,969 บารังไก (barangay) ซึ่งเทียบเท่าตำบลหรือหมู่บ้าน
เศรษฐกิจการค้า
2. เศรษฐกิจ
2.1
ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย กล่าวคือ เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากร
ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ดี สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย
โดยส่วนใหญ่
จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน
ขณะเดียวกันประชากร ฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ
ฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ เพื่อ
การพัฒนาประเทศเป็นส่วนใหญ่
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฟิลิปปินส์
1.
ความสัมพันธ์ทั่วไป
1.1 การทูต
-
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2492
เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลาคนปัจจุบัน คือ นายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย
ละมีหน่วยงานในสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แก่ สำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสำนักงานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ณ เมืองเซบู
เอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ประจำ ประเทศไทย คนปัจจุบันคือ นางลิงลีไง เอฟ ลาคันลาเล
สินค้าและอาชีพส่งออกในประเทศฟิลิปปินส์
เกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่
มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า
ป่าไม้
มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี
เหมืองแร่
ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไม์ ทองแดง เงิน
อุตสาหกรรม ใช้วัตถุดิบในประเทศ
เช่น โรงงานเยื่อกระดาษ แปรรูปไม้ ปูนซีเมนต์
ศิลปวัฒนธรรมในประเทศฟิลิปปินส์
ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศฟิลิปปินส์วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก
ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจาก สเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ
ได้แก่
การปรับเวลาของประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศฟิลิปปินส์ เวลาจะเร็วกว่าประเทศไทย
1 ชั่วโมงก่อนที่จะถึงประเทศเหล่านี้อย่าลืมปรับนาฬิกาให้เร็วกว่าปกติ 1 ชั่วโมง (GMT+8) บางคนตกเครื่องเพราะลืมปรับเวลา ให้เป็นเวลาท้องถิ่น
บุคคลสำคัญของประเทศฟิลิปปินส์
โฮเซ
รีซัล (Jose Rizal)
ดร.โฮเซ่ ริซัล ถูกผู้ปกครองชาวสเปนจับกุมด้วยข้อหา 'ปลุกระดม' ในขณะที่เขาอายุ 35 ปี
และถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม
1896เป็นนักเขียนและวีรบุรุษคนสำคัญในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากสเปน
เขาเสียชีวิตจากการตัดสินโทษประหาร ซึ่งส่งผลให้ชาวฟิลิปปินส์ ลุกขึ้นสู้จนขับไล่สเปนออกไปได้สำเร็จ
หลังการตายของโฮเซ่ ริซัล เป็นเวลา 2
ปีประชาชนชาวฟิลิปปินส์ก็ได้ชัยชนะเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ปี ค.ศ.1898 ประกาศเอกราชให้กับประเทศฟิลิปปินส์ปลดจากถูกการปกครองโดยสเปนอย่างยาวนานกว่า
350 ปีลงอย่างสิ้นเชิง
สัญลักษณ์ตราแผ่นดินประเทศฟิลิปปินส์
ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์
(Coat
of Arms of the Philippines) มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด
(บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก)
ซึ่งอยู่ภายใต้กฏอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือลูซอน
วิซาย และมินดาเนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา
และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม
การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือรัฐแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2483
เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์
กรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.
1574 (พ.ศ. 2117) ตั้งอยู่บนเกาะ ลูซอน ริมอ่าวมะนิลา มีเนื้อที่ประมาณ 38.55
ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าเล็กมาก มีประชากร ประมาณ 1.6 ล้านคน
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
วิทย์ บัณฑิตกุล .(2555) . สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
. กรุงเทพ : บริษัททวีพริ้นท์(1991)จำกัด .
คณะผู้จัดทำ
คณะผู้จัดทำ
1.นายกวินท์ คมพิชญ์บำเพ็ญ เลขที่ 2 ชั้น ม.6 ห้อง 3
2.นายพีรพัฒน์ ทองเพ็ชร เลขที่ 3 ชั้น ม.6 ห้อง 3
3.นางสาวทัศนีย์ บัวศรี เลขที่ 7 ชั้น ม.6 ห้อง 3
4.นางสาววิลาวัลย์ ยาวิชัย เลขที่ 12 ชั้น ม.6 ห้อง 3
5.นางสาวณัฐนันท์ อัครกิตติพร เลขที่13ชั้น ม.6
ห้อง 3
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)