Powered By Blogger

เศรษฐกิจการค้า

 
2. เศรษฐกิจ
2.1 ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย กล่าวคือ เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากร ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ดี สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย โดยส่วนใหญ่ จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน ขณะเดียวกันประชากร ฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ ฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ เพื่อ การพัฒนาประเทศเป็นส่วนใหญ่

2.2 รัฐบาลภายใต้การบริหารงานด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีอาคีโน ที่สาม เน้นนโยบายสร้างวินัยทางการคลัง โดยการบริหารงบประมาณแบบสมดุล (zero - budgeting policy) เพื่อแก้ไขภาวะงบประมาณขาดดุล อันเป็นปัญหาสืบเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อน ในปี 2553 รัฐบาลได้ กำหนดงบ ประมาณขาดดุลอัตราร้อยละ 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) หรือประมาณ 625 พันล้านเปโซ เนื่องจากความจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณเพื่อเร่งพัฒนา โครงสร้างสาธารณูปโภค และอัดฉีดเม็ดเงินให้กับ ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดย สนับสนุนการสร้างกลไกความเป็น หุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ - เอกชน (public - private partnerships) และเร่งแก้ไขกฎหมายและกฎ ระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของ ต่างชาติ ผลักดันกฎหมาย ป้องกันการผูกขาด (anti - trust law) เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเท่าเทียม รวมทั้งให้ความสำคัญ กับการส่งเสริมการลงทุนในสาขา สาธารณูปโภค การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เหมืองแร่ และเกษตรกรรม
2.3 ในปี 2553 การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของฟิลิปปินส์ อยู่ที่อัตราร้อยละ 7.3 เนื่องจาก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2553 การใช้จ่ายในการรณรงค์ หาเสียง เลือกตั้ง ประธานาธิบดีเมื่อเดือนมิถุนายน 2553 รวมทั้งปัจจัยเชิงบวกด้านอื่น ๆ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของ เงินโอน จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ การขยายตัวของภาคการส่งออก การขยายตัวของการบริโภค ภายใน ประเทศ การเพิ่มขึ้นของปริมาณการลงทุน และเศรษฐกิจมหภาค มีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายให้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเติบโต ในอัตราร้อยละ 7 – 8 ตลอดวาระ การบริหารงาน (ปี2553 – 2560) อย่างไรก็ดีนักลงทุนต่างชาติ มีความกังวลต่อปัญหา/อุปสรรคอื่น ๆ ในการลงทุนในฟิลิปปินส์ เช่น ความไม่แน่นอนเชิงนโยบาย ในระยะยาว ระบบ สาธารณูปโภคขาดคุณภาพและ ค่าใช้จ่ายสูง
3. นโยบายต่างประเทศ
3.1 นโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์อยู่บนพื้นฐานของนโยบายหลัก 3 ด้าน คือ (1) ด้านความมั่นคง (2) ด้านเศรษฐกิจ และ (3) ด้านแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ (Overseas Filipinos Workers) โดยเน้นการ สร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์แห่งชาติกับการเป็นสมาชิกที่ดีของประชาคม ระหว่าง ประเทศ และยังคง ห้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศสมาชิกอาเซียน
3.2 ฟิลิปปินส์มีความใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา เนื่องด้วยความเกี่ยวพันทางประวัติศาสตร์ ความเป็น พันธมิตร ด้านความมั่นคง และสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ในระหว่างการเยือน สหรัฐอเมริกา ของ ประธานาธิบดีอาคีโน ที่สาม เมื่อเดือนกันยายน 2553 รัฐบาลฟิลิปปินส์ประสบ ผลสำเร็จ ในการ ดึงดูดการ ลงทุนและเงินช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา โดยสหรัฐอเมริกาพร้อมจะ สนับสนุนนโยบาย แห่งชาติ ของฟิลิปปินส์ ในทุกมิติ ในการนี้ ฟิลิปปินส์ได้ลงนามความตกลง Millennium Challenge Account (MCA) มูลค่า 434 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งความตกลงดังกล่าว อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ ความ ร่วมมือแห่งความท้าทายแห่ง สหัสวรรษ (Millennium Challenge Corporation – MCC) โดยเป็นเงินทุนจาก สหรัฐอเมริกาที่สนับสนุน ประเทศ ที่ยากจนเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและ พัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังได้แสดง ความสนใจที่จะเพิ่มพลวัตร และแรงขับ เคลื่อนทาง การค้ากับ สหรัฐอเมริกา โดยการเข้าร่วมการเจรจา ความตกลง ว่าด้วยการค้าเสรีในกรอบ Trans – Pacific Economic Partnership
3.3 ฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์ในระดับดีกับนานาประเทศ อาทิ
(1) กับญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่ให้ความ ช่วยเหลือ ทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์และเป็น ประเทศผู้บริจาคราย สำคัญต่อการพัฒนาใน มินดาเนา
(2) กับจีนในฐานะประเทศคู่ค้าและผู้ลงทุนที่สำคัญ และ (3) กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค ตะวันออกกลาง อาทิ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน และเยเมน ซึ่งเป็นตลาดแรงงานสำคัญของฟิลิปปินส์และ แหล่งทุนสำหรับ การพัฒนา ในมินดาเนา ตลอดจนมีศักยภาพที่จะสนับสนุนฟิลิปปินส์ในการเข้า เป็นประเทศ ผู้สังเกตการณ์ในองค์การกา ร ประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference – OIC)
3.4 ฟิลิปปินส์ส่งเสริมผลประโยชน์แห่งชาติในเวทีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
(1) การร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มแนวร่วม ปลดปล่อย อิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front – MILF) และกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อย แห่งชาติโมโร (Moro National Liberation Front – MNLF)
(2) การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับ รัฐมนตรีกลุ่ม NAM วาระพิเศษว่าด้วยเรื่อง Interfaith Dialogue และความร่วมมือเพื่อสันติภาพและ การพัฒนา (Special Non-Aligned Movement Ministerial Meeting - SNAMM) เมื่อเดือนมีนาคม 2553 ซึ่งมีการรับรองปฏิญญา มะนิลาเกี่ยวกับหลักสำคัญในการบรรลุผล ด้านสันติภาพและ การพัฒนาโดยใช้ Interfaith Dialogue
(3) การเป็นประธานการประชุมทบทวนไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (2010 Review Conference of Non-Proliferation of Nuclear Weapon – NPT) ซึ่งสาระสำคัญเกี่ยวกับ การลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทาง สันติจำนวน 64 ข้อ ได้รับการ บรรจุไว้ในรายงานสุดท้ายของการประชุมดังกล่าว
(4) การส่งกองกำลังฟิลิปปินส์เข้าร่วมภารกิจรักษา สันติภาพของสหประชาชาติ

(5) การมีบทบาทที่แข็งขันในกรอบอาเซียน อาทิ บทบาทในฐานะ ประเทศผู้ประสานงานการเจรจา ระหว่างอาเซียน สหรัฐอเมริกา การส่งเสริมการจัดทำแนวทางปฏิบัติ ในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct in South China Sea) รวมทั้งการสนับสนุนการทำงานของ คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น