Powered By Blogger

เสาหลัก 3 ความร่วมมือในด้านสังคมและวัฒนธรรม

ความร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความร่วมมือเฉพาะด้านคือ ความร่วมมือด้านอื่นๆ ที่มิใช่ด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดย มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาค พัฒนาและเสริมสร้างสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น รวมถึงลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมและรักษาเอกลักษณ์ ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิก
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี 2546 ที่บาหลี ผู้นำประเทศอาเซียน เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่
1. การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร
2. แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
3. ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง
4. ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งรับรู้ข่าวสารเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงเอกลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)

แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ประกอบด้วยความร่วมมือในด้านต่างๆ 6 ด้าน
1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) ให้ความสำคัญกับการศึกษาการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเชิงประยุกต์เสริมสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ ความร่วมมือในด้านนี้

2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) ได้แก่ การขจัดความยากจน เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอา เซียนและโลกาภิวัฒน์ ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) ได้แก่ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ได้แก่ การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดำรงชีวิตในเขตเมือง การประสานนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity) ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนและความรู้สึกของการเป็นประชาคม การส่งเสริมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน

6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) การดำเนินงานความร่วมมือเหล่านี้ อาเซียนได้ดำเนินการทั้งในรูปแบบของความตกลงในระดับต่างๆ (MOU/ Agreement/ Declaration) และโครงการความร่วมมือ ทั้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันและ ระหว่างอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศคู่เจรจาทั้งในกรอบอาเซียน+1 และอาเซียน+3 และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น